รายงานสถานการณ์ น้ำทะเลเปลี่ยนสี

 



เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทีมนักวิจัยโครงการ “การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนล่วงหน้าปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี” สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล สำรวจพื้นที่ชายหาดบางแสน ตั้งแต่สะพานราชนาวี จนถึงหาดวอนนภา เวลา 10.00-12.00 น. เพื่อตรวจสอบปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ที่มีการแจ้งเหตุตั้งแต่วันที่ 13-14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

.
การสำรวจครั้งนี้ พบแพลงก์ตอนพืชชนิด 𝙏𝒓𝙞𝒑𝙤𝒔 𝒇𝙪𝒓𝙘𝒂 (ชื่อเดิม Ceratium furca) เป็นชนิดเด่น ที่ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแกมแดง โดยพบความหนาแน่นเซลล์อยู่ระหว่าง 183,920-612,000 เซลล์ต่อลิตร คุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น ความเค็มน้ำทะเลมีค่า 31.0-33 psu ค่าออกซิเจนละลายน้ำมีค่า 3.41-7.11 mg/L ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คุณภาพน้ำทะเลยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำทะเล (เพื่อการนันทนาการ) ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2564) ได้ประกาศไว้
.
.
เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2-3 วัน ดังนั้น คุณภาพน้ำทะเล #จึงยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ #สามารถรับประทานอาหารทะเลและเล่นน้ำทะเลได้

ความคิดเห็น